อายุเกิน 35 ปี สามารถทำ IUI ได้ไหม?


อายุเกิน 35 ปี สามารถทำ IUI ได้ไหม?

การทำ IUI (Intrauterine Insemination) หรือการฉีดเชื้อผสมเทียม คือการนำเชื้ออสุจิที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อคัดเลือกเชื้อที่สมบูรณ์แข็งแรง ฉีดกลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้อสุจิว่ายไปผสมกับไข่เอง

วิธีการทำ IUI เหมาะกับใคร?

การรักษาด้วยวิธี IUI เหมาะกับคู่รักที่ฝ่ายชายที่มีปัญหาน้ำเชื้อเล็กน้อย ฝ่ายหญิงที่มีการตกไข่ผิดปกติ มีท่อนำไข่อย่างน้อย 1 ข้าง รวมไปถึงเรื่องอายุที่ไม่ควรเกิน 35 ปี

ฉะนั้น “อายุ” จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้การรักษาด้วยวิธี IUI มีโอกาสประสบความสำเร็จน้อย เนื่องจากมีจำนวนไข่ที่น้อยลง รวมไปถึงคุณภาพไข่ก็ลดลงด้วยเช่นกัน

หากถามว่าแล้วอายุเกิน 35 ปี สามารถทำ IUI ได้หรือไม่นั้น คำตอบคือ สามารถทำได้ค่ะ แต่จะต้องมีการพิจารณาถึงสภาพร่างกายของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงร่วมด้วย หากอายุ 35 ปี แต่มีคุณภาพไข่ที่ดีด้วยก็มีโอกาสสำเร็จด้วยวิธี IUI ได้

โดยเริ่มจากการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตร เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการทำ IUI และประเมินภาวะสุขภาพทั้งก่อนและระหว่างกระบวนการรักษา

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะสุขภาพร่างกายของแต่ละคนอาจมีผลต่อความสำเร็จของการทำ IUI ด้วยนั่นเอง

Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

 

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]