Q&A กับ หมอพูนเกียรติ – มีลูกตอนอายุมาก กลัวลูกผิดปกติ

ก่อนอื่นคงต้องบอกว่า ทุกคนมีโอกาสตั้งครรภ์แล้วลูกผิดปกติได้แม้ว่าจะอายุน้อยนะครับ แต่ความเสี่ยงจะมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มด้วย หรือพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าแม่อายุมากขึ้นความเสี่ยงที่ลูกจะผิดปกติก็สูงขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นถ้าหากลดความความเสี่ยงนี้ผู้หญิงก็ควรมีลูกก่อนอายุ 35 ปี

สาเหตุหลักที่จะเพิ่มความเสี่ยงในความผิดปกติของทารกที่จะเกิดมา คงจะเป็นเรื่องอายุของผู้หญิง เพราะไข่เกิดมาพร้อมกับผู้หญิงตั้งแต่เกิด ดังนั้นอายุที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้อายุไข่เพิ่มตามไปด้วย ทั้ง ๆ ที่คุณจะเป็นผู้หญิงที่แข็งแรง สุขภาพดี ดูแลตัวเอง แต่ต้องยอมรับว่าไข่มันแก่ไปตามเจ้าของ อาจจะมีไข่ที่ดูดีเมื่อเทียบกับคนวันเดียวกัน แต่หากเทียบกับคนที่อายุน้อยกว่า ถึงอย่างไรไข่ที่อายุน้อยกว่าก็คุณภาพดีกว่า งานนี้เรียกว่าไม่สามารถข้ามรุ่นได้จริง ๆ ครับ

ส่วนอสุจิหรือสเปิร์มของผู้ชายก็มีผลบ้างแต่ไม่มากเท่าผู้หญิง ผู้ชายที่อายุ 45 ปีขึ้นไปคุณภาพสเปิร์มก็อาจจะลดลง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ด้วยความที่สเปิร์มของผู้ชายผลิตใหม่ทุกวัน เพราะฉะนั้นถ้าดูแลตัวเองดี ไม่ดื่มเหล้าสบูบุหรี่ ไม่สัมผัสสารเคมี สเปิร์มยังคงใช้ได้จนถึงอายุ 60-70 ปีได้อย่างสบาย ๆ เลยครับ

ฟังอย่างนี้แล้วก็อย่างเพิ่งตกใจไปครับ ถ้าผู้หญิงอยากจะมีลูกหลังจากอายุ 35 ปีไปแล้วก็สามารถมีลูกได้ แต่อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องนี้ก็มีคำแนะนำให้ 2 แนวทางคือ 1.การตรวจคัดกรองหลังจากตั้งครรภ์ และ 2.การตรวจคัดกรองก่อนตั้งครรภ์

การตรวจคัดกรองหลังจากตั้งครรภ์ จะเป็นตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น การตรวจเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ การเจาะตรวจน้ำคร่ำที่สามารถบอกความผิดปกติเกี่ยวกับทารกได้ เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม หรือความผิดปกติทางโครโมโซมต่าง ๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้จะตรวจได้เมื่อตั้งครรภ์ไปแล้ว

การตรวจคัดกรองก่อนตั้งครรภ์ จะเป็นการการตรวจจากการใช้วิธีทำเด็กหลอดแก้วเท่านั้น เราจะสามารถตรวจโครโมโซมเซลล์ตัวอ่อน หลังจากที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้แล้ว โดยจะตรวจคัดกรองก่อนย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก จะเป็นวิธีที่สามารถตรวจดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าตัวอ่อนผิดปกติก็ไม่นำตัวอ่อนนั้นมาใช้ ทำให้สามารถคัดกรอกตัวอ่อนที่สมบูรณ์แข็งแรงมาใช้ก่อนที่จะตั้งครรภ์ได้

ทั้งนี้ทั้งนั้นบางครั้งคู่สมรสที่อายุมากก็มีที่พบว่าตัวอ่อนผิดปกติทั้งหมดเลย ไม่สามารถย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกได้ ต้องทำใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีที่ไม่ต้องไปย้ายตัวอ่อนให้เสียค่าใช้จ่าย และลดความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นด้วย แต่ทั้งนี้แพทย์ก็ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไปด้วยครับ

สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องนี้อาจจะมาปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อวางแผนเรื่องการตรวจคัดกรองที่เหมาะสมต่อไปครับ

นพ.พูนเกียรติ ปัญญามิตร

สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก ไพร์ม เฟอร์ทิลิตี้ คลินิก

 

รู้จักบริการตรวจความผิดปกติของโครโมโซม (PGD / NGS)

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.
https://www.primefertilitycenter.com/qa-กับ-หมอพูนเกียรติ-มีลูก

Related Posts

26

มี.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร?

  ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร? Meta Title : ตรวจโ[…]