อาการมีลูกยาก, infertility symtoms,不孕症症状

เช็กความเสี่ยงอาการต่อไปนี้อาจมีลูกยาก

 

1. ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนมาห่างมากกว่า 1 เดือน เกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติ จึงทำให้ไม่มีการตกไข่ หรือตกช้า
เพราะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก

2. ประจำเดือนมามากกว่าปกติ เนื่องจากมดลูกบีบตัว ผิดปกติทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนมากๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก มดลูกโต เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ เสี่ยงต่อการมีลูกยากได้

3. ไม่มีความต้องการทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง จนอาจถึงขั้นเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แสดงว่ากำลังมีปัญหาบางอย่างในร่างกาย ต้องรีบไปพบแพทย์นะคะ

4. ขนขึ้นเยอะ ถ้าอยู่ๆพบว่าขนตามที่ต่างๆในร่างกายขึ้นมากผิดปกติ นั่นอาจเพราะว่ารังไข่ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น

5. น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ หรือน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปทำให้ร่างกายปรับตัว เพื่อการมีลูกได้ยากขึ้น และความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง นอกจากนี้การมีน้ำหนักเยอะเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้นยังเสี่ยงต่อการแท้งได้

6. อายุที่เพิ่มขึ้น คุณภาพของไข่จะลดลงรวมถึงฮอร์โมนและความเปลี่ยนแปลงก็มากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป โอกาสในการมีลูกก็จะลดน้อยลงไป ขณะเดียวกันอายุที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลให้มีโอกาสแท้งบุตรเพิ่มขึ้น และยังเสี่ยงต่อการที่ลูกในท้องจะมีความผิดปกติทางโครโมโซมมากขึ้นด้วยค่ะ

7. ร่างกายขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดี มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ช่วยเสริมสร้างแคลเซียมในกระดูกและฟัน สร้างภูมิคุ้มกันและดีต่อหัวใจ การขาดวิตามินดี ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

8. ผมร่วง ผมบาง อันเนื่องมาจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเยอะเกิน เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงหรือผมบาง ซึ่งการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์นั้น ก็ส่งผลต่อการตกไข่เช่นกัน

9. เจ็บปวดในท้องเวลามีเพศสัมพันธ์ อาจเป็นอาการมีผังผืดในเชิงกราน จากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

10. ปวดประจำเดือนมาก เกิดจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ฉะนั้นควรหมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองให้ดี และหากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและหาทางรักษาอย่างทันท่วงทีนะคะ 

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.
https://www.primefertilitycenter.com/เช็คความเสี่ยงอาการต่อ

Related Posts

26

มี.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร?

  ตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน เพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์อย่างไร? Meta Title : ตรวจโ[…]