ใครว่าอายุน้อย…แล้วลูกไม่มีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม

 

จากภาพตารางความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมในช่วงอายุต่างๆ ซึ่งโอกาสที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมนั้น จะสูงขึ้นตามอายุของฝ่ายหญิง

นั่นหมายความว่า ยิ่งฝ่ายหญิงอายุมากขึ้นโอกาสที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมก็มากขึ้นตามไปด้วย จะเห็นได้ว่าอายุเท่าไหร่ก็มีความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้ทั้งนั้น เพียงแต่ถ้าอายุน้อย ก็มีโอกาสน้อยกว่าผู้หญิงที่อายุมากเท่านั้นเอง

ยกตัวอย่างในตาราง เช่น ผู้หญิงอายุ 28 ปี จากตารางพบว่ามีความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 1:1000 เมื่อเทียบกับผู้หญิงอายุ 40 ปี จากตารางพบว่ามีความเสี่ยงที่บุตรจะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ที่ 1:100

สำหรับสาเหตุนั้น ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งจากการศึกษามารดาอายุน้อยที่มีบุตรเป็น Down Syndrome (Trisomy 21) พบว่าปัจจัยหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการเกิดแลกชิ้นส่วน (Crossing over) ของโครโมโซมทุกคู่ในอัตราที่ต่ำกว่าคนปกติ

และพี่น้องจะมีลักษณะคล้ายกัน บ่งว่า Low genome-wide recombination rates อาจจะเป็นสาเหตุการเกิด Down Syndromeในกลุ่มนี้ (จากความผิดปกติของยีนบางตัว เช่น RNF212,MSH4,MSH5,TEX11 ที่ควบคุมการเกิด Meiotic recombination)

สำหรับปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิด Down Syndrome อาจจะมาจากการสับเปลี่ยนของโครโมโซม (Translocation)

ในกลุ่มฝ่ายหญิงอายุน้อย ที่มีประวัติครอบครัวเคยมีบุตร หรือเครือญาติใกล้ชิดเป็น Down Syndrome จึงควรวางแผนมีบุตร โดยการตรวจโครโมโซมของทั้งคู่สามี-ภรรยา (Chromosome Study) รวมถึงพิจารณาทำ Preimplantation genetic screening (PGS) ด้วยวิธี Next generation sequencing (NGS)

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

 

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

Related Posts

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่างกันอย่าง

03

พ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่างกันอย่าง

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่ […]