ทำไมตัวอ่อนถึงหยุดการเจริญเติบโตหลังปฏิสนธิด้วยวิธี ICSI

 

หลังจากทราบรายงานผลการปฏิสนธิด้วยวิธี ICSI จากห้องปฏิบัติการแล้ว คู่สมรสหลายคู่อาจต้องเจอกับความผิดหวัง เมื่อพบว่าตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตในเวลาต่อมา ซึ่งผลการปฏิสนธิไม่ได้รับประกันความสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยาก
.
ตัวอ่อนบางกลุ่มมีการหยุดพัฒนาและตายภายในไม่กี่วันหลังการปฏิสนธิ สาเหตุส่วนมากมักเกิดจากจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ
.
ปัจจุบัน นักวิจัยจาก Columbia University Vagelos College of Physicians and Surgeons ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการเกิดโครโมโซมที่ผิดปกติเหล่านี้ โดยมากเกิดจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเองในการจำลองแบบของดีเอ็นเอ (DNA Replication)ในช่วงต้นของการแบ่งเซลล์ การค้นพบนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่เกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานของการสืบพันธุ์ของมนุษย์ และในระยะยาวอาจนำไปสู่การปรับปรุงอัตราความสำเร็จของการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) การศึกษานี้มีการเผยแพร่ออนไลน์ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2022 ในวารสาร Cell
.
กระบวนการแบ่งเซลล์ของมนุษย์จะเกิดขึ้นประมาณ 24 ชั่วโมงหลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิ ในตัวอ่อนจำนวนมากที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้ว พบว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น บางเซลล์ในตัวอ่อนมีโครโมโซมที่น้อยหรือมากเกินไป นักวิจัยตั้งทฤษฎีมานานแล้วว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นในช่วงสุดท้ายของการแบ่งเซลล์ เมื่อชุดโครโมโซมที่ซ้ำกันแยกออกเป็นสองเซลล์ลูกที่เหมือนกัน ความผิดพลาดเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับ microtubule spindle ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดึงโครโมโซมสองชุดออกจากกัน
.
แต่จากการศึกษาของ ดร.Dieter Egli (หัวหน้าการศึกษาและผู้ช่วยศาสตราจารย์ Maimonides สาขาชีววิทยาเซลล์พัฒนาการ Columbia University Vagelos College of Physicians and Surgeons) พบว่าความผิดปกติของโครโมโซมเกิดจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเร็วกว่านั้นมากในกระบวนการแบ่งเซลล์เมื่อ DNA ของจีโนมถูกทำซ้ำ หากไม่มีการคัดลอก DNA อย่างแม่นยำ การศึกษาของเขาพบว่า microtubule spindle ทำงานผิดปกติ จะวางโครโมโซมผิดจำนวนลงในเซลล์ลูกแต่ละเซลล์ เมื่อการทำซ้ำของ DNA มีความผิดปกติ microtubule spindle ก็จะทำงานไม่ปกติ สิ่งนี้ถูกมองข้ามไปอย่างมากในการศึกษาก่อนหน้า
.
สาเหตุของข้อผิดพลาดในการคัดลอก DNA ในตัวอ่อน พบว่าเกิดจากสิ่งกีดขวางภายในเกลียวคู่ของ DNA (DNA’s double helix) แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดสิ่งกีดขวางเหล่านี้ แต่สิ่งเหล่านี้ทำให้การทำซ้ำของ DNA หยุดชะงักหรือหยุดลง ส่งผลให้ DNA แตกและเกิดจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ความผิดพลาดของ DNA ที่เกิดขึ้นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่รอบแรกของการแบ่งเซลล์ในตัวอ่อน นักวิจัยค้นพบว่าหากตัวอ่อนในระยะแรกมีเซลล์จำนวนมากที่มีความผิดปกติของโครโมโซม ตัวอ่อนจะไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
.
ทั้งนี้นักวิจัยได้วางแผนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสียหายของ DNA ในช่วง DNA Replicationโดยหวังว่าจะมีความเข้าใจความผันแปรตามปกติและที่ก่อให้เกิดโรคในสายพันธุ์ของมนุษย์ ในระยะยาว การศึกษาเหล่านี้อาจนำไปสู่วิธีการลดความเสี่ยงของความผิดปกติทางพันธุกรรมและการเสื่อมลงของตัวอ่อนสำหรับผู้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วย IVF

พิระพร จินดาศรี
Embryologist

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

ICSI การทำอิ๊กซี่ การทำอิ๊กซี่ หรือ Intracytoplasmic sperminjection (ICSI) เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในห้องปฏิบัติการ ซึ่งขั้นตอนคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF แต่การทำอิ๊กซี่จะมีความแตกต่างคือ อิ๊กซี่เป็นการนำเอาอสุจิที่ผ่านการคัดเลือกที่ดีที่สุดหนึ่งตัวผสมต่อไข่ที่อยู่ในระยะที่เหมาะสมในการปฏิสนธิหนึ่งใบ โดยการใส่อสุจิเข้าไปในเนื้อไข่โดยตรง กระบวนการนี้จะต้องมีการกระตุ้นไข่ด้วยยาฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่จำนวนหลายใบ และยังให้ผลการปฏิสนธิเป็นที่น่าพึงพอใจ ช่วยลดปัญหาการปฏิสนธิหรือการปฏิสนธิแบบผิดปกติอันเนื่องมาจากไข่และอสุจิ เช่น การเกิดการผสมด้วยอสุจิหลายตัว, อสุจิไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่เพื่อเข้ามาปฏิสนธิได้ เป็นต้น หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

คู่สมรสที่ควรรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำ ICSI
1. ฝ่ายหญิงมีอายุค่อนข้างมาก (มากกว่า 35 ปี)
2. ฝ่ายหญิงมีภาวะท่อนำไข่ตีบตันทั้งสองข้าง
3. ฝ่ายหญิงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ค่อนข้างรุนแรง
4. ฝ่ายหญิงมีการทำงานของฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือโรคถุงน้ำรังไข่ (PCOS)
5. ฝ่ายชายมีอสุจิผิดปกติรุนแรง ทั้งทางด้านรูปร่าง ความสามารถในการเคลื่อนที่ รวมถึงจำนวนของอสุจิด้วย
6. ฝ่ายชายที่เป็นหมันหรือทำหมัน แต่ยังคงมีการสร้างอสุจิและสามารถนำอสุจิออกมาได้จาก วิธีการผ่าตัด เช่น การทำ PESA, TESA, TESE เป็นต้น
7. คู่สามีภรรยาที่เคยไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธินอกร่างกายด้วยวิธี IVF
8. คู่สามีภรรยาที่ต้องการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมด้วยของตัวอ่อน

FET การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง
การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง หรือ FET (FROZEN EMBRYO TRANSFER) คือการนำเอาตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งไว้มาผ่านกระบวนการละลาย (THAWING) และย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งในกรณีนี้คนไข้สามารถเลือกช่วงเวลาที่ตนเองสะดวกได้ เช่น 1-2 เดือนหลังจากกระบวนการปฏิสนธิ การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด

เนื่องจากในกรณีที่ฝ่ายหญิงกระตุ้นไข่ได้หลายใบจะทำให้มีฮอร์โมนผลิตออกมาจากรังไข่ปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนนี้จะส่งผลทำให้คุณภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกด้อยลง และทำให้โอกาสการฝังตัวของตัวอ่อนลดลงแม้ตัวอ่อนจะมีคุณภาพดีก็ตาม ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนตามหลังการเก็บไข่เลยอาจไม่เหมาะสมนักในกรณีนี้

นอกจากนั้นผลการศึกษาจากหลายสถาบันก็มีแนวโน้มว่าการใส่ตัวอ่อนในรอบแช่แข็งและละลายจะให้โอกาสการตั้งครรภ์ที่สูงกว่าใส่หลังเก็บไข่เลย ด้วยเรื่องของคุณภาพเยื่อบุโพรงมดลูกที่พร้อมมากกว่าดังนั้นการเลือกย้ายตัวอ่อนในรอบใดนั้นแพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับคู่สมรสเป็นราย ๆ ไป

ทำ ICSI ราคา มีบุตรยาก ทำอิ๊กซี่ ราคา

Related Posts

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่างกันอย่าง

03

พ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่างกันอย่าง

เปรียบเทียบราคาการทำ icsi ราคาของการทำ iui ราคาของการทำ ivf ราคาและขั้นตอนการทำมีความแตกต่ […]