ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรก?

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรก?

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรก?

 

ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรก?

Meta Title : ไขข้อข้องใจ ทำไมถึงทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรก?
Meta Description : ทำความรู้จักกับการทำเด็กหลอดแก้ว อย่าง IVF และ ICSI กัน! 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร? แบบไหนดีกว่า? แล้วสาเหตุที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรกคืออะไร? บทความนี้มีคำตอบ!

___________________________________________________________________________________________________

หากคุณเป็นหนึ่งในคู่แต่งงานที่พยายามมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติแต่ยังไม่สมหวังสักที หรือใครที่เคยทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรกมาแล้วและยังไม่ประสบความสำเร็จ มาทางนี้เลย!!!

HDmall.co.th ร่วมกับ Prime Fertility Center จะพาทุกคนมารู้จักกับ “การทำเด็กหลอดแก้ว” หนึ่งในวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่หลายคนอาจคุ้นชื่อกันดี เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักว่า การทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร? IVF และ ICSI แตกต่างกันไหม? ทำเด็กหลอดแก้วมีอัตราประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์กี่เปอร์เซ็นต์? รวมถึงเผยเคล็บลับที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก อ่านได้ที่บทความนี้เลย!

การทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร?

การทำเด็กหลอดแก้ว คือ หนึ่งในวิธีรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่นำเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์มากระตุ้นให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกาย ทำได้โดยการนำไข่ที่สุกแล้วออกมาจากร่างกายของฝ่ายหญิง ก่อนนำไปผสมกับสเปิร์มของฝ่ายชายในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนได้เป็นตัวอ่อน

หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกนำไปเพาะเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการ เมื่อถึงเวลาจึงค่อยทำการนำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกและเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป

การทำเด็กหลอดแก้ว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากและผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แล้ว การทำเด็กหลอดแก้วยังสามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคทางพันธุกรรม อย่างกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) หรือโรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ได้

นอกจากนี้หากยังไม่พร้อมที่จะมีลูกในตอนนั้น ฝ่ายหญิงสามารถฝากไข่ไว้ล่วงหน้าได้ด้วย โดยไข่ที่ถูกแช่แข็งจะมีอายุคงที่และมีความสมบูรณ์เท่ากับอายุของฝ่ายหญิงที่มาเก็บไข่ ณ เวลานั้นๆ

ความแตกต่างระหว่างการทำ IVF และ ICSI

ปัจจุบันการทำเด็กหลอดแก้วมีให้เลือกทั้งหมด 2 วิธี ได้แก่ IVF และ ICSI โดยทั้งสองวิธีนี้จะมีกระบวนการในช่วงแรกที่ไม่ต่างกันมาก คือ หลังจากตรวจสุขภาพและปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการตั้งครรภ์แล้ว ทั้งการทำ IVF และ ICSI จะเริ่มต้นด้วยการกระตุ้นไข่ ซึ่งฝ่ายหญิงจะต้องฉีดยากระตุ้นไข่ชเพื่อให้ร่างกายผลิตไข่ออกมามากกว่า 1 ฟอง และป้องกันไม่ให้ไข่ตกก่อนกำหนด

หลังจากนั้น แพทย์จะทำการอัลตราซาวด์และสอดเครื่องมือเข้าไปในรังไข่เพื่อดูดไข่ออกมาแช่ไว้ในของเหลวสำหรับเพาะเลี้ยง (Nutritive Liquid) ก่อนที่จะเลือกไข่ใบที่แข็งแรงและมีรูปร่างปกติที่สุดมาทำการปฏิสนธินอกร่างกายต่อไป

ในขั้นตอนการปฏิสนธินอกร่างกายนี้เอง ที่ทำให้การทำ IVF และ ICSI มีกระบวนการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • IVF (In Vitro Fertilization) ผู้เชี่ยวชาญจะนำสเปิร์มมาเพาะเลี้ยงไว้กับไข่แต่ละใบและปล่อยให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่เอง
  • ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) เป็นเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ที่พัฒนามาจาก IVF โดยวิธีนี้นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะทำการคัดเลือกอสุจิที่มีความสมบูรณ์ รูปร่างดี และมีความสามารถในการวิ่งที่เหมาะสมที่สุดเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่โดยตรง ทำให้มีอัตราการปฏิสนธิสูงกว่าการทำ IVF

อัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้ว

ข้อมูลจาก American Pregnancy Association พบว่าอัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วที่แบ่งตามกลุ่มช่วงวัย มีดังนี้

  • ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 41-43%
  • ผู้หญิงอายุ 35-37 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 33-36%
  • ผู้หญิงอายุ 38-40 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 23-27%
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี มีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 13-18%

โดยพบว่าอัตราความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วทั้งแบบ IVF และ ICSI นั้นแตกต่างกันน้อยมาก แต่จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนในขั้นตอนการปฏิสนธิ

นอกจากอายุของคนไข้แล้ว ความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก แพทย์จะเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดเพียง 1 ตัว เพื่อทำการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก

ปัจจัยที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จในครั้งแรกมีอะไรบ้าง?

1. อายุของฝ่ายหญิง

อายุของฝ่ายหญิงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับไข่ โดยเฉพาะเมื่อฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนที่เคยผลิตได้ตามปกติจะค่อยๆ ผลิตได้น้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพของรังไข่และไข่แย่ลงไปด้วย 

โดยพบว่าในผู้ที่มีอายุ 25 ปี จะมีไข่ที่ผิดปกติ 25% ส่วนผู้ที่มีอายุ 35 ปี จะมีไข่ที่ผิดปกติ 50% และในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสที่ไข่ผิดปกติสูงถึง 85-90% นอกจากนี้อายุของฝ่ายหญิงยังมีผลต่อการปฏิสนธิในการทำ ICSI ด้วย

2. สเปิร์มของฝ่ายชาย

ตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์การวิเคราะห์สเปิร์มที่มีความปกติว่ามีลักษณะดังนี้

  • มีการหลั่งน้ำอสุจิปริมาตร 1.5 – 5.0 มิลลิลิตร
  • ความหนาแน่นของตัวอสุจิมากกว่า 15 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร
  • จำนวนตัวอสุจิทั้งหมดมากกว่า 39 ล้านตัว
  • การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิมากกว่าร้อยละ 40
  • ตัวอสุจิที่มีรูปร่างลักษณะปกติ มากกว่าร้อยละ 14 เมื่อใช้เกณฑ์ Strict Criteria

ถ้าหากฝ่ายชายตรวจสเปิร์มแล้วมีค่าต่างๆ น้อยกว่าเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นก็จะทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติ เนื่องจากจำนวนสเปิร์มไม่เพียงพอต่อการเข้าไปปฏิสนธิกับมดลูก

การทำเด็กหลอดแก้วก็เช่นกัน หากสเปิร์มไม่สมบูรณ์ก็จะทำให้อัตราการปฏิสนธิและการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง รวมถึงมีความเสี่ยงในการแท้งลูกที่สูงขึ้น

3. ตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติ

ตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติ เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากการที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นพาหะของโรงทางพันธุกรรมบางชนิด ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก

ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีที่เรียกว่า “PGT” คือการวินิจฉัยความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม หรือยีนที่เฉพาะเจาะจงกับโรคบางอย่าง ก่อนที่จะนำตัวอ่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมของทารกได้

และอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า “NGS” เป็นเทคนิคที่สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ถึงในลำดับเบส ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของโครโมโซม วิธีนี้สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ละเอียด มีความถูกต้องแม่นยำสูง และถูกนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน ซึ่งถือเป็นเทคนิควิธีการตรวจที่ดีที่สุดในปัจจุบัน

4. มดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูก

หลังจากตัวอ่อนพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว ตัวอ่อนจะถูกย้ายเข้ามาฝังตัวในโพรงมดลูก ซึ่งถ้าหากเยื่อบุโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดการฝังตัวได้ยาก โดยเยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสำหรับการฝังตัวจะต้องมีลักษณะดังนี้

  • โพรงมดลูกหนา 8-10 เซนติเมตร
  • เรียงตัวสามชั้น (Triple Lines)
  • มีลักษณะโปร่งใส
  • มีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงโพรงมดลูกมากพอจนมดลูกอุ่น
  • ไม่มีปัญหาเนื้องอกในโพรงมดลูก ผนังมดลูกพลิ้ว หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบ

ส่วนในผู้ที่มีเยื่อบุมดลูกบาง มักจะมีผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผลิตออกมาน้อยเกินไป แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานฮอร์โมนเพิ่ม เพื่อให้มีเยื่อบุมดลูกที่หนาขึ้นมาช่วยในการพยุงครรภ์

5. เลือกวิธีทำเด็กหลอดแก้วที่ไม่เหมาะกับคู่ของตนเอง

การทำเด็กหลอดแก้วด้วยวิธี IVF และ ICSI จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน รวมถึงยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของผู้มีบุตรยากที่แตกต่างกันด้วย หากเลือกวิธีที่ไม่เหมาะสมกับตนเอง ก็อาจทำให้การทำเด็กหลอดแก้วไม่ประสบความสำเร็จได้

การทำ IVF ผู้เชี่ยวชาญจะนำสเปิร์มมาเพาะเลี้ยงไว้กับไข่แต่ละใบและปล่อยให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่เอง โดยวิธีนี้จะมีอัตราการปฏิสนธิสูงถึง 30-60% เป็นวิธีที่เหมาะกับฝ่ายชายที่มีสเปิร์มสมบูรณ์ แข็งแรง แต่ฝ่ายหญิงอาจมีปัญหาท่อรังไข่ตีบตันหรือมีเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ 

ในขณะที่การทำ ICSI ผู้เชี่ยวชาญจะทำการคัดเลือกอสุจิที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงตัวเดียวฉีดเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่โดยตรง ทำให้มีอัตราการปฏิสนธิสูงถึง 70-85% 

การทำ ICSI จึงเหมาะสำหรับคู่รักที่ฝ่ายหญิงยังมีอายุน้อย มีคุณภาพและปริมาณของไข่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ แต่ในฝ่ายชายมีปัญหาสเปิร์มไม่แข็งแรง มีปริมาณอสุจิน้อย และมีภาวะหลั่งสเปิร์มย้อนทาง

อย่างไรก็ตามหากมีประวัติการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีอื่นๆ อย่าง IUI และ IVF แล้วแต่ยังไม่สำเร็จแพทย์จะประเมินการรักษาและเข้าสู่การทำ ICSI ต่อไป เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีอื่นๆ

แนวทางการเพิ่มโอกาสทำเด็กหลอดแก้วให้สำเร็จ

การทำเด็กหลอดแก้วนับเป็นความหวังที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้มีบุตรยากเลยก็ว่าได้ เพราะใครๆ ก็ต่างต้องการที่จะทำเด็กหลอดแก้วให้สำเร็จลุล่วงและได้พบหน้าลูกน้อยตั้งแต่ครั้งแรก 

ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำเด็กหลอดแก้วให้ประสบความสำเร็จ ก่อนและหลังทำเด็กหลอดแก้ว คนไข้จึงควรดูแลตนเองให้พร้อมโดยสามารถทำได้ตามวิธีดังต่อไปนี้

ก่อนการทำเด็กหลอดแก้ว

  • ตรวจสุขภาพ ส่วนมากแล้วแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปตรวจเช็กโรคประจำตัว โรคที่ส่งต่อได้ทางพันธุกรรม ค่าฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการกระตุ้นไข่ รวมถึงจะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อเช็กสภาพรังไข่ อุ้งเชิงกราน และความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติที่อวัยวะสืบพันธุ์ก่อน
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ไข่และสเปิร์มแข็งแรงขึ้นได้ โดยอาหารที่ฝ่ายหญิงควรเลือกรับประทาน ได้แก่ กลุ่มผักใบเขียว ธัญพืชเต็มเมล็ด และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส่วนฝ่ายชายควรรับประทาน ไข่ ช็อกโกแลต กล้วย ทับทิม และผลไม้ในตระกูลเบอรี่
  • ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม การมีค่า BMI เกินหรือน้อยกว่าค่ามาตรฐานสามารถส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ได้ โดยเฉพาะในฝ่ายชายที่มีน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้สเปิร์มเจริญเติบโตไม่เต็มที่และลดความสามารถในการปฏิสนธิ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสองสิ่งนี้จะทำให้คุณภาพของสเปิร์มลดลง ทำลายดีเอ็นเอของตัวอสุจิในฝ่ายชาย รวมถึงลดโอกาสที่ตัวอ่อนจะฝังตัวในมดลูกของฝ่ายหญิงได้สำเร็จอีกด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยคืนละ 7-8 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ เนื่องจากการพักผ่อนอย่างเหมาะสมจะช่วยซ่อมแซมกระบวนการต่างๆ ในร่างกายและช่วยรักษาสมดุลฮอร์โมนสเปิร์มให้สมบูรณ์ ในขณะที่ฝ่ายหญิงก็จะทำให้มีเยื่อบุมดลูกที่พร้อมสำหรับการฝังตัวอ่อน
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนเก็บสเปิร์ม ก่อนถึงวันนัดหมายเก็บสเปิร์มประมาณ 3-4 วัน ฝ่ายชายควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือการช่วยตัวเองออกไปก่อน เพื่อให้ได้จำนวนสเปิร์มที่มากพอและสามารถคัดเลือกสเปิร์มตัวที่ดีที่สุดในการนำมาทำเด็กหลอดแก้วได้

หลังการทำเด็กหลอดแก้ว

นช่วง 7 วันแรกหลังย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ฝ่ายหญิงจะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ โดยสามารถทำได้ดังนี้

  • เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่จะต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานานๆ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการขับรถและเดินทางไกลด้วย
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่หักโหม อย่างการทำงานหรือยกของหนักๆ รวมถึงการออกกำลังที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกรับอาหารที่ย่อยง่ายเป็นพิเศษ เพราะจะช่วยลดโอกาสในการเกิดท้องผูก ซึ่งอาจทำให้ต้องเกร็งหน้าท้องตลอดเวลา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลังการย้ายตัวอ่อนแล้ว คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยคืนละ 7-8 ชั่วโมงเพื่อรักษาระดับสมดุลฮอร์โมนและช่วยให้โอกาสในการตั้งครรภ์สูงขึ้น
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ หลังการย้ายตัวอ่อนราวๆ 14 วัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • รับประทานยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงการใช้ยาสอดเพื่อให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้นจนสามารถรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนได้

นอกจากนี้ หลังการย้ายตัวอ่อนแพทย์จะทำการนัดหมายอีกครั้งเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotrophin Hormone) หรือ ฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หากตรวจแล้วไม่พบ แพทย์จะสั่งให้หยุดใช้ยา และถ้าหากอยากทำเด็กหลอดแก้วอีกครั้งจะต้องรอให้มดลูกพร้อมเสียก่อน ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

ทำเด็กหลอดแก้วที่ไหนดี?

ในการทำเด็กแก้วให้ประสบความสำเร็จ ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์และควรดูแลโดยทีมแพทย์รวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ถ้าหากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังสนใจทำเด็กหลอดแก้วอยู่ Prime Fertility Center ยินดีให้บริการ

Prime Fertility Center เป็นคลินิกเฉพาะทางที่ให้การรักษาด้านภาวะมีบุตรยากที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศ เลือกใช้เทคโนโลยีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีความทันสมัย เราไม่เพียงแต่รักษาภาวะมีบุตรยากเพียงอย่างเดียว แต่เราเข้าใจถึงความหมายของคำว่าครอบครัว

ที่มา :
Advanced Fertility Center of Chicago, Intracytoplasmic Sperm Injection – ICSI and IV (https://advancedfertility.com/fertility-treatment/ivf/icsi/), 11 February 2024.
American Pregnancy Association, IVF – In Vitro Fertilization (https://americanpregnancy.org/getting-pregnant/infertility/in-vitro-fertilization/), 11 February 2024.
NHS, IVF (https://www.nhs.uk/conditions/ivf/), 11 February 2024.
HDmall, รู้จักการทำ “เด็กหลอดแก้ว” ความหวังสำหรับผู้มีบุตรยาก(https://hdmall.co.th/c/in-vitro-fertilization-or-ivf), 11 กุมภาพันธ์ 2567.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, IVF และ ICSI ชื่อคุ้นหู แต่แตกต่างกันอย่างไร (https://www.bumrungrad.com/th/about-us/bumrungrad-international-hospital), 11 กุมภาพันธ์ 2567. 

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts