ซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพเซลล์ของร่างกาย อยากมีลูก มีบุตรยาก ภาวะมีบุตรยาก – Prime Fertility Clinic
เพื่อทำให้เกิดการแยกชั้นของพลาสมา ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถผลิตสารเช่น Growth Factor และ Cytokines หลายชนิด เช่น Transforming Growth Factor (TGF), Vascular Endothelial Growth Factor (VEGF), Platelet-derived Growth Factor (PDGF) และ Epidermal Growth Factor (EGF) เป็นต้น โดยสารต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพเซลล์ของร่างกาย
จากคุณสมบัติพื้นฐานเหล่านี้จึงมีการนำเลือดมาปั่นเพื่อให้เข้มข้นมากกว่าเลือดปกติ 3-5 เท่า และนำมาฉีดเข้าอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเพื่อกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ มีการนำมาใช้แพร่หลายเนื่องจากวิธีการนี้ไม่ได้รุนแรงมาก ผลข้างเคียงน้อย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น ปลูกผม เสริมความงาม ลดการเหี่ยวย่นของผิวหนัง
ในแง่ของการรักษาภาวะมีบุตรยาก ได้มีการนำเทคนิคนี้มาศึกษาวิจัยและใช้เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้ว ดังนี้
- การฉีดรังไข่ คือการฉีดเข้าไปในรังไข่ทั้ง 2 ข้างผ่านทางช่องคลอด เพื่อกระตุ้นการทำงานของรังไข่ให้สามารถผลิตไข่ได้จำนวนมากขึ้น คุณภาพไข่ดีขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยที่เตรียมกระตุ้นไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว ผู้ป่วยวัยใกล้หมดประจำเดือน รังไข่เสื่อมก่อนวัย หรือมีประวัติไข่น้อยจากการทำเด็กหลอดแก้วครั้งก่อน ๆ
- การฉีดโพรงมดลูก คือการฉีดเข้าไปในผนังมดลูกผ่านทางช่องคลอด เพื่อกระตุ้นให้ผนังมดลูกมีความหนาตัวเหมาะกับการย้ายตัวอ่อนที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้ว วิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีประวัติผนังมดลูกบาง โดยการฉีดโพรงมดลูกนี้จะทำในระหว่างการเตรียมผนังมดลูกสำหรับการย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็ง (FET) เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จหลังการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก
การฉีดควบคู่กับการรักษาภาวะมีบุตรยากนี้ หลายปีที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มผู้มีไข่สำรองน้อย รังไข่ล้มเหลว เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวไม่พอ รวมถึงหญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนที่ต้องการจะกระตุ้นไข่แทนที่การใช้ไข่จากผู้บริจาค พบว่าหลังจากรักษาแล้วผู้ป่วยบางคนมีการตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น ได้ไข่มากขึ้น และอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์และคลอดบุตรได้ในที่สุด หรือในกลุ่มที่มีประวัติผนังมดลูกบาง หลังการรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นและสามารถย้ายตัวอ่อนแล้วตั้งครรภ์สำเร็จ
อย่างไรก็ดีการรักษาวิธีนี้ยังไม่ได้เป็นมาตรฐานในระดับสากล และผลการรักษาไม่แน่นอน อัตราความสำเร็จไม่สูง แต่ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหารุนแรงเหล่านั้น