การแบ่งเกรดตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์อะไร?

ICSI ตรวจโครโมโซม

การแบ่งเกรดตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์ใช้เกณฑ์อะไร?

การที่จะประสบความสำเร็จจากการทำ ICSI นั้น ขึ้นอยู่กับตัวอ่อนที่มีคุณภาพ ในทางการแพทย์จะมีการแบ่งเกรดของตัวอ่อน เพื่อสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพตัวอ่อนเพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง และคุณภาพดีที่สุด ก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก

การแบ่งเกรดหรือให้คะแนนตัวอ่อน (Embryo Grading) ของ PRIME FERTILITY CLINIC จะมีนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทำการเกรดในตัวอ่อน 2 ระยะคือ ระยะคลีเวจ (Cleavage) และ ระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) ซึ่งจะมีรายละเอียดต่างกันคือ

ตัวอ่อนระยะคลีเวจ (Cleavage)

PRIME FERTILITY CLINIC จะอ้างอิงตามมาตรฐานสากลจากเกณฑ์การให้คะแนนตัวอ่อนของ Istanbul Consensus Scoring System โดยจะมีการพิจารณาจากรูปร่างความสมมาตรของเซลล์ที่พบ สำหรับการแบ่งเกรดระยะนี้จะแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
• เกรด 1 (GOOD) คือตัวอ่อนที่มี blastomeres หรือมีการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เป็นรูปร่างกลมสวย มีขนาดเท่าๆ กันไม่มีแฟรกเมนเตชั่น (Fragmentation เศษเซลล์ขนาดเล็กที่ผิดปกติในตัวอ่อน) หรือหากมีก็น้อยกว่า 10 % ถ้าอยู่ในเงื่อนไขนี้ก็จะได้เกรด 1 ซึ่งตัวอ่อนกลุ่มนี้จะมีแนวโน้มสูงที่จะเจริญเติบโตเป็นระยะบลาสโตซิสท์ได้สูง
• เกรด 2 (FAIR) คือตัวอ่อนที่มี blastomeres หรือการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนที่เซลล์มีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน และมีแฟรกเมนเตชัน (Fragmentation) พบอยู่ประมาณ 10-25 %
• เกรด 3 (POOR) ตัวอ่อนมี blastomeres หรือการการแบ่งตัวของเซลล์ที่ขนาดไม่เท่ากัน มีแฟรกเมนเตชัน อยู่มากกว่า 25 %

ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst)

เป็นระยะที่ตัวอ่อนเจริญเติบโต 5-6 วันหลังจากที่ไข่กับสเปิร์มผสมกัน PRIME FERTILITY CLINIC จะอ้างอิงตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันในการคัดเกรดของ Gardner and Schoolcraft 1999 โดยพิจารณาจาก Inner Cell Mass, Trophectoderm ซึ่งมี 3 เกรด คือ A, B, C และระยะของบลาสโตซิสท์ที่แบ่งเป็น 6 เกรดดังนี้
• Early Blastocyst (1)
• Blastocyst (2)
• Full Blastocyst (3)
• Expanded Blastocyst (4)
• Hatching Blastocyst (5)
• Hatched Blastocyst (6)

PRIME FERTILITY CLINIC จะดูตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนดังกล่าว เมื่อทำการเกรดแล้ว นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน ก็จะมีการบันทึกข้อมูลของตัวอ่อนแต่ละตัวไว้อย่างละเอียดทั้งหมด ผลการเกรดทั้ง 3 ส่วนจะมีการนำมาประเมินร่วมกันอีกครั้ง ซึ่งผลที่ได้ก็จะเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในคัดเลือกตัวอ่อน เพื่อประกอบการพิจารณาเลือกตัวอ่อนใส่กลับสู่โพรงมดลูกต่อไปค่ะ

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

 

Related Posts

07

ก.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

เตรียมมีลูกควรทานโปรตีนจากสัตว์ หรือโปรตีนจากพืชมากกว่ากัน?

เตรียมมีลูกควรทานโปรตีนจากสัตว์ หรือโปรตีนจากพืชมากกว่ากัน? “โปรตีน“ มีความสำคัญกับคนทุกเพ […]