ทำความรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist)

 

นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนทำงานเบื้องหลังเพื่อช่วยในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ตั้งแต่กระบวนการเก็บไข่จนพัฒนามาถึงตัวอ่อน และย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก
นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนไม่ใช่แพทย์ แต่มีทักษะเฉพาะทางที่ช่วยให้สามารถทำงานกับเซลล์ที่เปราะบางและละเอียดอ่อน เช่น สเปิร์มและไข่ได้ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ดังนี้
  • การเก็บไข่ (Egg Retrieval) เมื่อฟองไข่ในรังไข่เจริญเต็มที่ แพทย์จะทำการดูด follicular fluid จากรังไข่ที่บรรจุไข่อยู่ โดยใช้เข็มยาวที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ จากนั้นนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะแยกไข่ของจากของเหลวนี้ เพื่อเตรียมการในขั้นตอนต่อไป
  • การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (Embryo Development) นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะนำสเปิร์มไปผสมกับไข่เพื่อให้ได้ตัวอ่อน เช่นในกรณีของการทำ ICSI นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดจำนวน 1 ตัวด้วยวิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์ แล้วฉีดเข้าไปในไข่ 1 ใบ ซึ่งทำในกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาด้านอสุจิปริมาณน้อย ไม่แข็งแรง หรือมีปัญหาในการหลั่งอสุจิ 
  • การย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก (Embryo Transfer) เป็นการนำตัวอ่อนที่ได้จากการปฏิสนธิ ย้ายกลับไปวางในโพรงมดลูกเพื่อนรอการฝังตัว นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะนำตัวอ่อนโหลดเข้าไปในสาย catheter เพื่อให้แพทย์สามารถใส่ตัวอ่อนเข้าไปวางในโพรงมดลูกได้ 
  • การแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing) นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนใช้กระบวนการพิเศษที่เรียกว่า Cryopreservation เป็นกระบวนการที่ใช้ความเย็นเพื่อเก็บรักษาตัวอ่อน มีการใช้สารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์เกิดความเสียหายที่เกิดจากความเย็น และเป็นการหยุดปฏิกิริยาทางชีวภาพของเซลล์ (biological activity) ไว้จนกว่าจะละลายในภายหลัง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนยังเกี่ยวข้องกระบวนการตัดชิ้นเนื้อตัวอ่อนเพื่อตรวจพันธุกรรมเช่น PGD และ PGS

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]