การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) ตามมาตรฐาน WHO 2021 ต้องดูอะไรบ้าง?

 

การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) ตามมาตรฐาน WHO 2021 คือวิธีการทดสอบหาตัวอสุจิในเชิงปริมาณ (Quantitative) ดูจำนวน, การเคลื่อนไหว และทดสอบเชิงคุณภาพของตัวอสุจิ (Qualitative) ความผิดปกติทางรูปร่างของตัวอสุจิตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO Criteria) ในเกณฑ์ล่าสุดปี ค.ศ. 2021

เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย ในบางครั้งใช้สำหรับ follow up การทำหมันชาย (vasectomy)ได้อีกด้วย

  • โดยการตรวจวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. Macroscopic examination การตรวจวิเคราะห์ด้วยตาเปล่า เช่น การละลายตัว (Liquefaction) ความหนืด (Viscosity) สี (Appearance) ปริมาตร (Volume) pH เป็นต้น

2. Microscopic examination การตรวจวิเคราะห์ภายใต้กลองจุลทรรศน์ เช่น จำนวนตัวอสุจิ (Total count) อัตราการเคลื่อนไหว (Motility) อัตราการมีชีวิตของอสุจิ (Viability) เปอร์เซ็นต์ของตัวอสุจิที่มีรูปร่างปกติ (Morphology) จำนวนเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เป็นต้น

  • การแปลผลการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิว่าปกติดีหรือไม่ องค์การอนามัยโลก (WHO criteria 2021) ได้กำหนดเกณฑ์ของการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ไว้ดังนี้

1. ปริมาตรของน้ำอสุจิ (Volume) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1.4 มิลลิลิตร
2. จำนวนตัวอสุจิต่อการหลั่ง 1 ครั้ง (Total count) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 39 ล้านตัว
3. อัตราการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (Motility) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 42
4. อัตราการมีชีวิตของอสุจิ (Viability) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 54
5. รูปร่างตัวอสุจิที่ปกติ (Morphology) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 4

หลังทราบผลการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ หากมีข้อบ่งชี้ต้องกลับมาตรวจวิเคราะห์ซ้ำ โดยให้เว้นระยะการตรวจเป็นเวลา 90 วัน เนื่องจากกระบวนการสร้างตัวอสุจิจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ในการสร้างเซลล์ตั้งต้นจนกระทั่งพร้อมลำเลียงผ่านท่อนำอสุจิค่ะ

อุไรวรรณ จำเริญไกร
นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

สนใจบริการ ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม ฝากไข่ ตรวจสุขภาพ คลิกที่นี่

ทำ ICSI ราคา มีบุตรยาก ทำอิ๊กซี่ ราคา

Related Posts