ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร และสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

ปรึกษาภาวะมีบุตรยาก ที่ไหนดี

 

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร และสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

คนอยากมีลูก แต่เจอภาวะมีบุตรยาก เกิดจากอะไร ปรึกษาที่ Primer Fertility Center

คำว่าครอบครัว ถ้าจะให้ครบถ้วนสมบูรณ์จะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูก ปัจจุบันสภาพสังคมที่มีการแข่งขันสูง ความเร่งรีบ เกิดความเครียด ความวิตกกังวล ในการใช้ชีวิต เกิดปัญหาทั้งตนเอง ทั้งครอบครัว ทำให้ครอบครัวสมัยใหม่ไม่มีลูก ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ จากสภาวะปัญหามีลูกยาก แต่งงานอยู่กินกันฉันสามีภรรยามาหลายปีแต่ไม่มีลูกสักที ถือเป็นปัญหาระดับเริ่มต้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงวงกว้างระดับประเทศได้

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก คือ ความล้มเหลวของการตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการคุมกำเนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งคำว่าภาวะมีบุตรยากนั้นจะหมายรวมไปถึง การมีโอกาสมีบุตรน้อยกว่าปกติหรือช้ากว่าปกติ ยกตัวอย่างเช่น ภรรยาอายุ 30-35 ปีมีเพศสัมพันธ์แบบไม่คุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอภายใน 6 เดือน โดยไม่ตั้งครรภ์ถือเป็นภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น ซึ่งตามปกติแล้วสามีภรรยาที่มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอจะตั้งครรค์ภายใน 12 เดือนเฉลี่ยประมาณ 90% ตามสำนักสถิติแห่งชาติของไทยรายงานว่า สตรีวัยเจริญพันธุ์ อายุระหว่าง 15-49 ปี พบว่ามีภาวะมีบุตรยากประมาณ 15.4% โดยพบปัญหาในเขตเมืองมากกว่าชนบท

  • ภาวะมีบุตรยาก แบบปฐมภูมิ คือ คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน
  • ภาวะมีบุตรยาก แบบทุติยภูมิ คือ คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากเคยตั้งครรภ์มาก่อนแล้ว อาจจะคลอดหรือแท้งก็ตาม

 

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก

ครอบครัวที่คิดจะมีลูกไว้สืบเชื้อสาย วงศ์ตระกูล สักคนนั้น ย่อมเกิดจาก สามี ภรรยา ภายใต้คำว่าพ่อและแม่ที่ร่วมกันสรรค์สร้างให้มีเด็กตัวน้อย ๆ คนหนึ่งไว้เลี้ยงดู ฟูมฟัก ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ดังนั้นหากคู่พ่อแม่ ตั้งใจสร้างครอบครัว มีลูกไว้สักคนแต่ไม่สมหวังสักที นั่นก็ต้องเกิดจากเหตุของทั้ง 2 ฝ่าย ฉะนั้นแล้วจึงแบ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ออกเป็น 2 ส่วนคือ สาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่มาจากฝ่ายสามี และสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่มาจากฝ่ายภรรยา ส่วนใหญ่ภาวะมีบุตรยากสาเหตุเกินครึ่งหนึ่งจะมาจากฝ่ายภรรยา โดยสาเหตุต่าง ๆ นั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก ที่มาจากฝ่ายสามี อาทิ

  • ความผิดปกติของอัณฑะ เช่น ความผิดปกติของสารพันธุกรรม ภาวะอัณฑะไม่ลงถุง การติดเชื้อที่อัณฑะ การได้รับสารเคมีที่ส่งผลต่อการสร้างอสุจิ เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ โรคเรื้อรัง เป็นต้น
  • ท่อน้ำเชื้ออสุจิอุดตัน
  • การแข็งตัวขององคชาตหรือการหลั่งน้ำเชื้ออสุจิ
  • ความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการสร้างอสุจิ
  • ปัจจัยทางเพศสัมพันธ์
  • ความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อ
  • ความผิดปกติแต่กำเนิด พันธุกรรม เป็นหมัน
  • โรคประจำตัว โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อ เช่น คางทูม เป็นต้น
  • การได้รับสารพิษและยา
  • พฤติกรรมการดำรงชีวิต การดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • อายุที่มากขึ้น คุณภาพของเชื้ออสุจิลดลง ความผิดปกติโครโมโซมและยีนเพิ่มขึ้น

 

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก ที่มาจากฝ่ายภรรยา อาทิ

  • ภาวะไข่ไม่ตก ความผิดปกติของการตกไข่ ความถี่ของการตกไข่ต่ำกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของท่อนำไข่หรืออุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะท่อนำไข่ตัน การตัดท่อนำไข่ พังผืดในช่องท้อง เป็นต้น
  • ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (PCOS)
  • สภาพภายในโพรงมดลูกและปากมดลูก เช่น เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก มูกปากมดลูกคุณภาพไม่ดี การอุดตันของปากมดลูก ความผิดปกติแต่กำเนิดของมดลูก เป็นต้น
  • ความผิดปกติทางกายวิภาค ปัจจัยทางสุขภาพ โรคประจำตัว
  • ภูมิคุ้มกัน เกิดภูมิต้านทานต่อเชื้ออสุจิ
  • การติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ยาบางชนิด การคุมกำเนิด การแท้งบุตร
  • อายุที่มากขึ้น การเสื่อมคุณภาพของไข่มีมากขึ้น อายุที่มากกว่า 35 ปี โอกาสตั้งครรภ์ลดลงทำให้มีบุตรยาก
  • สภาวะทางจิตใจ ความเครียด ความกังวล ฯลฯ ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ
  • พฤติกรรมการดำรงชีวิต การศึกษา สภาพการทำงาน รายได้ พื้นที่อยู่อาศัย เช่น การรับประทานอาหาร ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์

 

จากสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก มีลูกยากนี้ มีการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อเป็นการช่วยการเจริญพันธุ์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์มากที่สุด เช่น การใช้ยา การผ่าตัด การต่อหมัน การกระตุ้นการตกไข่ การผสมเทียม การทำกิฟท์ การทำไอวีเอฟ การทำเด็กหลอดแก้ว การทำอิ๊กซี่ การตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน การแช่แข็งตัวอ่อน การใช้ไข่บริจาค การตั้งครรภ์แทน เป็นต้น โดยความสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยากก็จะขึ้นอยู่กับสาเหตุดังกล่าวข้างต้นเหล่านี้ ฉะนั้นแล้วต้องมีการวิเคราะห์ประเมินผลซักประวัติตรวจร่างกายทั้งของฝ่ายสามีและภรรยาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาภาวะมีบุตรยากให้ดีที่สุด ซึ่งระยะเวลาของการมีบุตรยากถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง หากเกิน 3 ปี โอกาสในการตั้งครรภ์เองจะมีน้อยมาก รวมถึงความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ห่างทุก 10-14 วันจะทำให้จำนวนเชื้ออสุจิเคลื่อนไหวลดลง เนื่องจากอสุจิจะอยู่ได้และแข็งแรงที่สุดคือ 7 วันนับจากการหลั่งทิ้งครั้งล่าสุด ส่วนการมีเพศสัมพันธ์วันเว้นวันช่วงตกไข่จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด รวมถึงสารเคมีหรือยาบางชนิดก็มีผลต่อการมีบุตรยากเช่นกัน เช่น ยาลดผมร่วง ตะกั่ว คาร์บอนไดซัลไฟด์ ยาลดความดัน ยาระงับประสาท สารเสพติด เป็นต้น

 

ภาวะมีบุตรยาก ถือเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนครอบครัวที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ ความมั่นคงในครอบครัว เกิดผลกระทบต่อชีวิตสมรส ทำให้เกิดความเครียด ความเสียใจ ความกลัว ซึมเศร้า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนครอบครัว สร้างครอบครัวให้มีสมาชิกครบสมบูรณ์ พ่อ แม่ ลูก แต่พบกับปัญหาภาวะมีบุตรยาก ให้เรา Prime Fertility Center เป็นหนึ่งตัวเลือกสำคัญอันดับต้นที่จะเติมเต็มชีวิตครอบครัวของคุณให้สมบูรณ์ตามที่ต้องการ โดยจะใช้วิธีง่าย ๆ ไปจนถึงซับซ้อนตามลำดับขั้นที่เหมาะสม

 

Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก อยากมีลูก เพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี 

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

Related Posts

02

พ.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่?

ย้ายตัวอ่อนทำเด็กหลอดแก้ว เด็กที่เกิดมายังมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่? ในกระบวนการของกา[…]