ช่วงอายุไหนเหมาะสมสำหรับการฝากไข่

ในช่วงอายุไหนเหมาะสมสำหรับการฝากไข่

ข้อควรทราบก่อนฝากไข่

ในช่วงอายุไหนเหมาะสมสำหรับการฝากไข่

เตรียมความพร้อมการฝากไข่อย่างไรเพื่อให้ได้ไข่ที่สมบูรณ์ที่สุด

อยากมีลูกจังเลยค่ะหมอ เมื่อไหร่จะท้องคะหมอ คำถามเหล่านี้มักเกิดขึ้นสำหรับคนที่ต้องการมีลูกแต่ลูกยังไม่มาสักที การจะมีลูกสักคนนั้นช่างยากเหลือเกิน ปัจจุบัน มีนวัตกรรมมากมายในการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น การทำ ICSI หรือ IVF หรือหากใครคนไหนที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูก สมัยนี้ก็มีนวัตกรรมดีๆ อย่างการฝากไข่เอาไว้จนกว่าเราพร้อมที่จะมีลูก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักรายละเอียดของการฝากไข่กัน

การฝากไข่ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สามารถช่วยให้ผู้หญิงวางแผนอนาคตการมีลูกของตัวเองได้ในเวลาที่พร้อมที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือมีการแต่งงานที่ช้าลง ผู้หญิงครองตัวเป็นโสดนานขึ้น กว่าจะมีความพร้อมที่จะสร้างครอบครัว อายุก็มากเกินไปส่งผลให้มีบุตรยากหรือไม่สามารถมีบุตรได้ เพราะเซลล์ไข่ของผู้หญิงมีเวลาจำกัด

การฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation หรือ Egg Freezing) คือ การนำเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอยู่ภายในร่างกาย ออกมาแช่แข็งไว้เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพตามอายุ ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยรุ่นในแต่ละเดือนจะมีการตกไข่เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งเซลล์ไข่นี้ถูกสร้างตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์ถึง 6-7 ล้านฟอง แต่เมื่อทารกเพศหญิงคลอดออกมาแล้วจะเหลือไข่เพียง 2 ล้านฟอง เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเซลล์ไข่เหล่านั้นจะเหลือเพียง 2-5 แสนฟอง และจะมีเซลล์ไข่ที่ทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียง 400-500 ฟองเท่านั้น ส่วนไข่ใบอื่นๆ จะสลายและฝ่อไปเอง ยิ่งเราอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ยิ่งเสื่อมลง ทำให้เกิดปัญหามีลูกยากและเด็กที่เกิดมาอาจจะไม่แข็งแรง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้หญิงหันมาวางแผนมีลูกและเริ่มฝากไข่มากขึ้น เพราะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์แต่ยังต้องการตั้งครรภ์ในอนาคต และการฝากไข่ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่กำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง ที่กระทบต่อจำนวนไข่และคุณภาพเซลล์ไข่ อันเนื่องจากมีโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธ์ในปัจจุบันและรอความพร้อมของร่างกายเพื่อการตั้งครรภ์ในอนาคต

 

ควรฝากไข่ตอนอายุเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด

เซลล์ไข่ยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งเสื่อมสภาพตามอายุ การฝากไข่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้คุณภาพเซลล์ไข่ดีที่สุด และเวลาที่เหมาะสมใการฝากไข่ คือในวัยเจริญพันธุ์ อายุที่แนะนำคือ คุณผู้หญิงที่อายุ 25 จนถึง 35 ปี จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมของการฝากไข่มากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าคุณผู้หญิงวางแผนการมีลูกไว้หลังอายุ 35 ปี ควรจะมาฝากไข่เอาไว้ก่อนเพื่อให้ได้คุณภาพเซลล์ไข่ที่แข็งแรงและลดความเสี่ยงการมีบุตรยาก

 

การฝากไข่สามารถเก็บได้นานกี่ปี

ในปัจจุบันนั้นเราสามารถเก็บรักษาไข่ไว้ได้นานเท่านาน ด้วยเทคโนโลยีและประสิทธิภาพของน้ำยา และต้องได้รับการรักษาดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มีข้อมูลล่าสุดรายงานว่า มีผู้นำเซลล์ไข่ที่ฝากไว้เป็นเวลามากถึง 14 ปี มาทำเด็กหลอดแก้วและเซลล์ไข่ยังมีคุณภาพใกล้เคียงกับเมื่อ 14 ปีที่แล้ว โดยในเคสนี้คนไข้ก็ตั้งครรภ์สำเร็จจากไข่ที่ฝากไว้

 

การเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บไข่

การฝากไข่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ฝ่ายหญิงควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเก็บไข่ เพื่อให้สามารถเก็บไข่ได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด ซึ่งการเก็บไข่ที่มีคุณภาพดีก็จะมีโอกาสได้ตัวอ่อนที่เยอะขึ้น โดยสถิติแล้ว ฝ่ายหญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 30-35 ปี มีโอกาสได้ลูก 1 คน ต่อจำนวณไข่ 10-12 ใบ ถ้าอายุน้อยกว่า 30 ปี มีโอกาสได้ลูก 1 คน ต่อจำนวณไ่ที่น้อยกว่า ประมาณ 5-10 ใบ

โดยความสำเร็จของการตั้งครรภ์จะขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพของไข่ ณ ช่วงอายุที่แช่แข็ง ยิ่งหากฝ่ายหญิงมีอายุน้อยโอกาสในการตั้งครรภ์จะมีโอกาสสำเร็จสูง ดังนั้นก่อนการเก็บไข่ฝ่ายหญิงควรมีวิธีดูแลตัวเอง ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนการเก็บไข่ ฝ่ายหญิงควรพักผ่อนให้เพียงพอวันละไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ในระหว่าง 1-2 วัน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเก็บไข่ โดยไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตไข่ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น
  2. ไม่ควรเครียดหรือกังวล ทำจิตใจให้สดชื่น เพราะจะส่งผลต่อฮอร์โมนภายในระบบสืบพันธุ์โดยตรง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยในการผลิตไข่ ความเครียดหรือความกังวลจะไปรบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ทำให้ไข่ไม่ตกตามที่ต้องการ และยังทำให้ไข่ไม่มีคุณภาพ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกทานอาหารที่มีสารอาหารโดยตรง ที่จะช่วยให้ไข่มีความสมบูรณ์ และแข็งแรง พร้อมต่อการปฎิสนธิเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น อาทิ อาหารประเภทโปรตีน เพราะทำให้ไข่มีความสมบูรณ์รวมทั้งลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่
  4. งดดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มคาเฟอีน ในช่วงของการกระตุ้นไข่ ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และมีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียว ช็อกโกแลต และโกโก้ เนื่องจากส่วนผสมเหล่านี้ มีผลโดยตรงต่อการทำงานของยาที่ทำหน้าที่กระตุ้นไข่ ซึ่งทำให้การกระตุ้นได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  5. ควรฉีดยาให้ตรงเวลา การฉีดยาการกระตุ้นผลิตไข่ เป็นการช่วยรักษาปริมาณตัวยาในกระแสเลือดให้คงที่ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เพราะสามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้สูงขึ้นได้ ฝ่ายหญิงต้องมาให้ตรงเวลาทุกครั้ง โดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง นอกจากนี้การฉีดยากระตุ้นตรงเวลาทุกครั้ง ช่วยทำให้แพทย์สามารถคำนวณเวลาที่ไข่จะตกเพื่อเก็บได้ง่ายยิ่งขึ้น
  6. งดการออกกำลังกายหนัก หลังจากกระตุ้นไข่ควรงดออกกำลังกายหนัก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังด้วยการเล่นโยคะร้อน เป็นต้น
  7. ทานอาหารเสริม ควรทานอาหารเสริมที่มีประโยชน์ ได้แก่ กรดโฟลิค แอสตร้าแซนธิน วิตามินซี วิตามินดี 3 วิตามินบี 12 เป็นต้น เพราะอาหารเสริมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพของไข่ในผู้หญิงและลดโอกาสเด็กในครรภ์พิการได้

 

การฝากไข่สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นวัยเจริญพันธุ์ที่เหมาะสม ทำให้ไข่ที่เก็บมีคุณภาพที่ดี ส่งผลให้ในอนาคตเมื่อพร้อมมีลูกก็จะทำให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์

 

Prime Fertility Center ไม่ได้เพียงแค่ให้การรักษาภาวะมีบุตรยาก มีบุตรยาก มีลูกยากเพียงเท่านั้น สิ่งที่ Prime Fertility Center มุ่งหวัง และมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง คือการให้บริการลูกค้าด้วยความใส่ใจ พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล และใส่ใจทุกความรู้สึกของคุณ เหมือนกับเป็นคนในครอบครัว เพราะเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความกดดัน ความเครียดของผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถมีบุตรได้สำเร็จเป็นอย่างดี ทางคลินิกจึงมีความตั้งใจที่จะมอบความอบอุ่น และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ารับบริการอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยความมุ่งมั่นและความใส่ใจจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักเพาะเลี้ยงตัวอ่อน และทีมงานมากประสบการณ์ในการดูแลและให้คำปรึกษาแบบครบวงจร

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
ติดต่อ Prime Fertility Center
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

Related Posts