ไข่ไม่ตก เกิดจากสาเหตุใด?

 

ไข่ไม่ตก เกิดจากสาเหตุใด?

ภาวะไข่ไม่ตก หรือไม่ตกไข่ (Anovulation) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของภาวะมีบุตรยาก สตรีที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการพัฒนาของไข่และการตกไข่ มักจะมีรอบประจำเดือนที่ไม่ปกติ หากรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 36 วันนั้นอาจจะหมายถึงการมีภาวะตกไข่ผิดปกติ หรือหากรอบเดือนอยู่ในช่วง 21-36 วัน โดยที่ในแต่ละรอบเดือนนั้นไม่สม่ำเสมอ ก็เป็นอีกสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีภาวะตกไข่ผิดปกติได้

ในกรณีที่ผู้หญิงมีภาวะไข่ไม่ตก ก็จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เนื่องจากไม่มีไข่สำหรับการปฏิสนธิ หากผู้หญิงมีการตกไข่ที่ไม่ปกติก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง เนื่องจากมีการตกไข่บ่อยน้อยกว่าปกติ

ภาวะไข่ไม่ตกและภาวะตกไข่ผิดปกติต่างมีสาเหตุได้หลากหลาย สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่
1. ภาวะฮอร์โมนโปรแลคตินออกมามากเกินไป Prolactin เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำนม สาเหตุจากเนื้องอกต่อมใต้สมอง และกินยาบางชนิด เช่นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน
2. อาการเครียดมาก ๆ
3. การออกกำลังกายอย่างหนัก
4. การลดน้ำหนักในระยะเวลาอันรวดเร็ว
5. น้ำหนักตัวน้อยหรือมากเกินไป
6. PCOS (polycystic Ovarian Syndrome) ถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นสภาวะที่เกิดจากการที่ไข่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่จนสมบูรณ์จนสามารถหลุดออกมาจากรังไข่ได้ ไข่ที่โตไม่เต็มที่เหล่านี้ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนและฮอร์โมนเพศชายชนิดอื่นๆ ออกมามากส่งผลทำให้พิทูอิตารีเกิดความสับสนส่งผลให้ผลิต LH ออกมามากเกินไปและ FSH น้อยเกินไป เมื่อไม่มี FSH ไข่ก็ไม่สามารถเจริญได้จนสมบูรณ์ได้จึงไม่เกิดการตกไข่
7. ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนเวลาอันควร ชนิดไม่ทราบสาเหตุ หรือมีสาเหตุ เช่น เคยได้เคมีบำบัด ฉายแสงที่เชิงกราน, ผ่าตัดรังไข่
8. วัยใกล้หมดประจำเดือน หรือวัยทอง
9. ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ
10. เป็นโรคเบาหวาน
11. ซึมเศร้า

การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก โดยในผู้ที่มีภาวะไข่ไม่ตกหลายรายสามารถรักษาได้โดยการเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันและอาหารการกิน

หากน้ำหนักตัวที่ต่ำเกินไปหรือการออกกำลังกายหักโหมเป็นสาเหตุของภาวะไข่ไม่ตก การเพิ่มน้ำหนักตัวหรือลดการออกกำลังกายลงก็เพียงพอต่อการให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ เช่นเดียวกันกับภาวะอ้วน หากคุณมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนัก 10% จากเดิมก็สามารถช่วยให้มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติเช่นกัน
ฉะนั้นทางที่ดีควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไปค่ะ

Reference: Prime Fertility Center Co., Ltd.

 

Related Posts

07

ก.ย.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

เตรียมมีลูกควรทานโปรตีนจากสัตว์ หรือโปรตีนจากพืชมากกว่ากัน?

เตรียมมีลูกควรทานโปรตีนจากสัตว์ หรือโปรตีนจากพืชมากกว่ากัน? “โปรตีน“ มีความสำคัญกับคนทุกเพ […]