ปัญหามีบุตรยาก

ปัจจัยเสี่ยงและการรับมือกับปัญหามีบุตรยากในผู้หญิงและผู้ชาย

ปัจจัยเสี่ยงและการรับมือกับปัญหามีบุตรยากในผู้หญิงและผู้ชาย

ปัจจัยเสี่ยงและการรับมือกับปัญหามีบุตรยากในผู้หญิงและผู้ชาย

เผยปัจจัยเสี่ยงพร้อมวิธีรับมือกับปัญหามีบุตรยากทั้งหญิงและชาย

การเติมเต็มคำว่าครอบครัวให้สมบูรณ์ย่อมหนีไม่พ้นการมีลูกน้อยเป็นโซ่ทองคล้องใจ ซึ่งคู่รักที่แต่งงานแล้วจำนวนมากอยากมีลูกและพยายามอย่างหนักแต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดข้อสงสัยว่าหรือใครคนหนึ่งอาจตกอยู่ในภาวะมีบุตรยาก เพราะการมีบุตรยากอาจมีสาเหตุจากทั้งผู้ชายและผู้หญิง หากคุณรู้ว่าเป็นหนึ่งในคู่รักดังกล่าว ต้องศึกษาปัจจัยเสี่ยงพร้อมวิธีรับมือกับปัญหามีลูกยากอย่างถูกต้อง

ต้องขออธิบายก่อนว่าภาวะมีบุตรยากถือเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยกับคู่รักในยุคปัจจุบันด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การแต่งงานช้า ผู้หญิงมีอายุเกินกว่า 35 ปี ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ สาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อเชื้ออสุจิของฝ่ายชายและการทำงานของรังไข่สำหรับฝ่ายหญิงด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยด้านการมีบุตรยากที่ระบุไปแล้ว การเข้าใจความเสี่ยงเกี่ยวกับการมีลูกยากก็ช่วยสร้างแนวทางป้องกันและรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ง่ายขึ้นด้วยสำหรับคนที่อยากมีลูก

 

ปัจจัยเสี่ยงที่มักทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง

  1. ปัญหาเรื่องการตกไข่ (Ovulation Factor)
    ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักซึ่งมักพบเจอในผู้หญิงที่มีบุตรยากเฉลี่ยแล้วสูงถึง 25% เลยทีเดียว บางกรณีสามารถเรียกภาวะตกไข่ผิดปกติ หรือ ภาวะไม่ตกไข่ (Anovulation) ได้เช่นกัน เกิดจากการไม่มีการตกไข่ตามธรรมชาติ ผลที่เกิดขึ้นจึงมักมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่ค่อยมา มาไม่ประจำทุกเดือน สัญญาณที่มักบอกถึงอาการดังกล่าวคือรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน หรือมากกว่า 36 วัน
  2. ปัญหาความผิดปกติของท่อนำไข่ (Tubal Factor)
    ท่อนำไข่คือบริเวณที่อสุจิของฝ่ายชายเดินทางไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิงและเกิดการปฏิสนธิ ดังนั้นกรณีที่อวัยวะดังกล่าวเกิดความผิดปกติโดยเฉพาะท่อนำไข่ตีบตันก็จะทำให้อสุจิไม่สามารถพบเจอกับไข่ได้ หรือแม้จะมีการปฏิสนธิก็ตามแต่ตัวอ่อนก็ไม่สามารถเข้ามาฝังตัวบริเวณมดลูกได้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะท้องนอกมดลูกจึงมีสูงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้นอกจากการตีบตันแล้วก็ยังอาจมีอาการอื่น ๆ เกี่ยวกับท่อนำไข่ที่ทำให้ผู้หญิงมีบุตรยากด้วย เช่น เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน มีการอักเสบติดเชื้อจนอุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่ การทำหมันส่งผลให้ท่อนำไข่อุดตัน เป็นต้น
  3. มดลูกมีปัญหาหรือผิดปกติ
    ผู้หญิงที่มีลูกยากอีกปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นมักมาจากปัญหาความผิดปกติบริเวณมดลูก เช่น การเกิดเนื้องอกบริเวณโพรงมดลูก (Submucous Myoma) การมีติ่งเนื้ออยู่ภายในโพรงมดลูก (Endometrial Polyp) การเกิดพังผืดในโพรงมดลูก (Intrauterine Adhesion) เป็นต้น หากแพทย์ตรวจพบว่า ภาวะมีบุตรยากเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ก็ต้องทำการผ่าตัดให้เรียบร้อยเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรตามที่คาดหวังเอาไว้
  4. ภาวะประจำเดือนหมดก่อนวัย
    ปกติแล้วผู้หญิงมักเริ่มเข้าสู่วัยทองช่วงอายุ 45 – 50 ปี ซึ่งหมายถึงเป็นช่วงที่กำลังหมดประจำเดือน แต่บางคนก็อาจเกิดภาวะประจำเดือนหมดก่อนวัยได้ หรือที่บางคนชอบเรียกติดปากว่า “วัยทองก่อนวัย” ส่งผลให้เกิดปัญหาการมีบุตรยาก แม้อยากมีลูกแค่ไหนก็ตาม สาเหตุเพราะรังไข่กับมดลูกทำงานผิดปกติ ฟองไข่ด้านในรังไข่สลายตัวเร็ว ไข่ที่อยู่ในฟองไข่สร้างฮอร์โมนไม่ได้ เป็นต้น

 

ปัจจัยเสี่ยงที่มักทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย

นอกจากสาเหตุที่มาจากฝ่ายหญิงแล้ว จริง ๆ ฝ่ายชายจำนวนไม่น้อยก็มักมีปัญหาที่นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากเช่นกัน ซึ่งถ้าแบ่งรายละเอียดออกมาก็สามารถระบุข้อมูลได้เบื้องต้น ดังนี้

  • การเกิดปัญหาจากอสุจิ ทั้งการไม่พบตัวอสุจิในน้ำอสุจิ ปริมาณตัวอสุจิน้อย
  • อวัยวะเพศ หรือระบบสืบพันธุ์เกิดการติดเชื้อ เช่น โรคหนองใน โรคเริม โรคซิฟิลิส ปัญหาต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมักส่งผลให้
  • บริเวณทางเดินของอสุจิแคบและตีบตันลง การสร้างเชื้ออสุจิทำได้ยากขึ้น
  • ภาวะเส้นลำเลียงน้ำเชื้ออสุจิโป่งพอง (Varicocele) ทำให้การเคลื่อนตัวของอสุจิยาก
  • ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) ทำให้การทำงานของลูกอัณฑะผิดปกติ
  • การขาดสารอาหารบางชนิดในร่างกาย เช่น สาร Folic Acid หรือ Lycopene ที่ส่งผลให้น้ำเชื้อไม่แข็งแรง
  • โรคประจำตัว หรือโรคในร่างกายที่ส่งผลต่อการมีลูกยาก เช่น โรคตับ โรคไต โรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยวิธีฉายรังสี
  • ปัญหาด้านสุขภาพทางเพศ เช่น การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การหลั่งเร็ว
  • ปัจจัยการใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การใช้สารเสพติด ได้รับสารตะกั่วมากเกินไป

 

ในส่วนของการรับมือนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่อยากมีลูกมากแต่เมื่อพยายามด้วยวิธีธรรมชาติแล้วแต่ไม่ได้ผล ควรเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุทั้งจากการซักถาม การตรวจร่างกาย แล้วเลือกวิธีแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม ซึ่งคู่รักไหนที่กำลังเผชิญกับเรื่องน่าปวดหัวนี้อยู่ “Prime Fertility Center” คลินิกเฉพาะทางด้านการรักษาและดูแลผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากโดยผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันมาตรฐานจากการได้รับความไว้วางใจโดยลูกค้าจำนวนมากด้วยหลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการฝากไข่, การทำอิ๊กซี่, ICSI, IUI, IVF ผ่านการรับรองคุณภาพในมาตรฐานระดับสากลอย่าง JCI (Joint Commission International) ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงมาตรฐาน ISO 15189 และ ISO 15190

 

สนใจเข้ารับการปรึกษาภาวะมีบุตรยาก
โทร : 062-648-6688 / 062-648-8866 / 02-029-1418–9
Line : http://line.me/ti/p/~@primefertility
Facebook : https://www.facebook.com/primefertilitycenter
E-mail : [email protected]

เวลาทำการ
วันจันทร์ – วันพุธ , วันศุกร์และวันเสาร์
เวลา 08.00 – 16:00 น.
หยุดวันพฤหัสบดี วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

 

Related Posts

แนะนำวิธีในการรักษาภาวะมีบุตรยาก

15

พ.ค.
ข่าวสาร สาระน่ารู้

ภาวะมีบุตรยากสามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าตัด หรือการทำเด็กหลอดแก้ว

ภาวะมีบุตรยากสามารถรักษาได้ด้วยยา การผ่าตัด หรือการทำเด็กหลอดแก้ว แนะนำวิธีในการรักษาภาวะม […]